ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

14 มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของอินเดีย

  1 รามลีลา (รามายณะ) ของอินเดียเหนือที่แสดงรามจริตของตุลสีทาส 2 การสวดพระเวทตามประเพณีฮินดู 3 กูฏิยาฏฏัม (กถะกะฬิ ที่แสดงด้วยภาษาสันสกฤต) ของรัฐเกรละ 4 รัมมาณ การแสดงในเทศกาลของเขตคัรหะวาล มณฑล गढ़वाल मण्डल ในอุตตะราขัณฑะ उत्तराखण्ड ของอินเดีย  5 มุฎิเยฏฏะ หรือ มุฑิเยฏ เป็นการแสดงนาฏกรรมของรัฐเกรละ (ภาษามลายะลัม) ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ของเจ้าแม่ภัทรกาลี ที่ฆ่าอสูรทาริกา กับ ทานเวนทรา ที่ได้พรจากพระพรหมว่าใครก็ฆ่าไม่ตายนอกจากผู้หญิง 6 การแสดงของเผ่า กาละเพลิยา कालबेलिया ในราชสถาน 7. เฉาว์ นาฏกรรมของรัฐเบงกอล นิยมแสดงเรื่องรามายณะ มหาภารตะ และปุราณะต่าง ๆ 8 การสวดมนต์ของชาวพุทธ (น่าจะมหายาน) ในตอนเหนือทั้งรัฐหิมาจัล จัมมู ลัททาข (Ladakh) 9. สังกีรฺตะนะ संकीर्तन เพลง ระบำ ละคร และการแสดงของชาวมณีปุรี ร่วมทั้งรำกลองแขกของมณีปุรีด้วย 10. เครื่องทองเหลืองและทองแดงของรัฐปัญจาบ (น่าจะเป็นเทคนิค) 11. โยคะ 12. การแสดงของเผ่านอโรซ नौरोज़ หรือชาวเปอร์เซียในอินเดีย ในปีใหม่ของชาวเผ่านี้คือวันที่ 21 มีนาคม (ที่อินเดียนุ่งห่มสุภาพเรียบร้อยไม่โชว์พุง) เปอร์เซียก็คืออีหร่าน วันปีใหม่อีหร่า
โพสต์ล่าสุด

ประเพณีลอยกระทงในอินเดีย

  ประเพณี บาลิ ยาตรา ไม่แน่ชัด แต่ สาธพะ (พวกบรรพบุรุษชาวกาลิงคะผู้ออกเรือไปชวามลายู ที่ชาวโอริศารู้จักกันในชื่อ บาลิ) ถูกกล่าวถึงในอักษรพราหมี (ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 3 - สมัยพระเจ้าอโศก) ........................ ประเพณีดีวาลี หรือทีปาวลี มีปรากฏหลักฐานกล่าวถึงใน จารึกพระกฤษณะที่ 3 ของราชวงศ์ราษฏกูฏะ ประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 9 - 10 ..................... ประเพณี เทว ทีปาวลี ไม่แน่ชัด แต่ปรากฏเรื่องพระศิวะสังหารตรีปุรัม อ้างอิงถึงในปัทมปุราณะ ซึ่งเป็นวรรณคดี แต่งเมื่อประมาณคริสต์วรรษที่ 7 หรือเก่าแก่กว่า คริสต์ศตวรรษที่ 12 แต่ก็มีการแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับชื่อเมืองในอินเดียใต้เข้าไปในช่วงสมัยวิชัยนคร (คริสต์ศตวรรษที่ 13-15) .................. สุโขทัย เริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์ประมาณคริสตวรรษที่ 12 อยุธยา เริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์ประมาณคริสตวรรษที่ 13 ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เริ่มสร้าง ประมาณคริสตวรรษที่ 17 (ทำเป็นพ.ศ. +543) ................. อย่าไปตูเอาว่า เขมร ลาว รับประเพณีลอยกระทงไปจากไทย มันน่าอาย เรานะใหม่สุด พึ่งเกิดสมัยกรุงเทพ ฯ ไม่ใช่หรือ ? 💥💥💥💥💥 💥 เทว ทีปาวลี หรือ เดว ดีวาลี (ดีวาลี

อาณฺฑาลฺ เทวี : ตำนานเทวทาสีในยุคแรกแห่งอินเดียใต้

รูปเทวี อาณฺฑาลฺ ที่มา  https://en.wikipedia.org/wiki/Andal อาณฺฑาลฺ ஆண்டாள் (ตำนานเทวทาสีในยุคแรกแห่งอินเดียใต้) ............ อาณฺฑาลฺ (เขียนอาณฺฑาลฺ อ่านอาณ-ดาลฺ) เดิมนางชื่อว่า โกไต கோதை (พวงดอกไม้ของสตรี, ผมของสตรี, ภูต, สายลม) ......... มีตำนานเล่าว่า ในหมู่บ้านหนึ่งใกล้กับนครมะดูไรซึ่งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑูมีพรามหณ์คนหนึ่ง นามว่า วิษณุสิทธา มีหน้าที่ในการจัดหาดอกไม้เพื่อไปถวายแก่เหล่าเทพที่วัดติรุวิลฺลิปุตฺตูรฺ (திருவில்லிபுத்தூர்) วันหนึ่งขณะที่พราหมณ์ผู้นี้ปฏิบัติหน้าที่เหมือนทุกวัน บังเอิญไปพบกับเด็กทารกหญิงผู้หนึ่งอยู่ในบริเวณใต้ต้นตุลสี (กะเพรา) ภายในสวนของเทวาลัย นึกเอ็นดูจึงเลี้ยงดูเด็กหญิงผู้นั้น เป็นบุตรบุญธรรมและตั้งชื่อให้เด็กทารกนี้ว่า "โกไต" ด้วยความที่เด็กน้อยผู้นี้อาศัยกับพราหมณ์ หาดอกไม้ถวายพระเจ้า ขับร้องเพลงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าอยู่เป็นประจำ ด้วยการเลี้ยงดูเช่นนี้ทำให้เด็กมีความผูกพันกับพระเป็นเจ้าเป็นอย่างมาก พรามหณ์ก็ได้สอนวิชาความรู้ทุกอย่างให้กับนาง และนางได้แต่งบทเพลงและขับร้องถวายต่อพระกฤษณะ (ปางหนึ่งของพระนารายณ์หรือวิษณุ) ผู้เป็นเทพเจ้าที่เธอรักยิ่

นางเทวทาสี จากสตรีศักดิ์สิทธิ์สู่หญิงบำเรอชาย

  ภาพนางเมธาวี (เทวทาสี) กับโกวะลัน ในเรื่องศิลปธิการัม ที่มา  https://en.wikipedia.org/wiki/Madhavi_%28Silappatikaram%29 นางเทวทาสี แบ่งเป็น 4 ยุค 1. ยุคแรกได้รับการยกย่องจากชาวบ้านเป็นสตรีศักดิ์ เช่นเดียวกับพระกุมารีของธิเบต หรือดังเช่นเรื่องราวของ อาณฺฑาลฺ (อ่านอาน-ดาล) ผู้แต่งงานกับพระเจ้า (พระนารายณ์) สมัยนี้นางเทวทาสีเป็นพรหมจรรย์ไม่แต่งงานกับใคร และได้รับเงินบริจาคจากหัวหน้าชุมชนและประชาชนผู้ศรัทธาเช่นเดียวกับกุมารีของธิเบต ในสมัยนี้ "เกิดกฎหมายในอินเดียใต้ว่า สตรีที่เป็นนางเทวทาสีสามารถได้รับมรดกจากบิดามารดาได้" (ปกติสตรีทั่วไปจะไม่ได้รับมรดกจากบิดา น่าจากเป็นอิทธิพลของสังคมมาตาธิปไตยที่หลงเหลืออยู่) .......... 2. ยุคที่สอง (ยุคมหากาพย์พุทธศาสนาของอินเดียใต้) มีปรากฏในวรรณคดีมหากาพย์ไชนะเรื่อง "ศิลปธิการัม" ภาษาทมิฬ ว่า นางเมธาวี ผู้เป็นนางเทวทาสี ได้รับสมบัติทั้งหมดของเศรษฐีหนุ่มโกวะลัน கோவலன் จนนางยอมเป็นภรรยาน้อยของเขา ก่อนที่โกวะลันจะทิ้งนางกลับไปหานางกัณณกิ ผู้เป็นภรรยาหลวง (கண்ணகி เขียน กัณณกิ อ่าน กัน-นะ-กี กฎเป็นคุรุที่สุดศัพท์ของทมิฬ, ก่อนเอากำไลนาง

เปรียบเทียบวลีและประโยคภาษาฮินดูสตานี (ฮินดี-อูรดู) กับภาษาสินธี เนปาลีและมราฐี

ภาพที่ 1 การเปรียบเทียบอักษรเทวนาครี (ภาษาฮินดี ฯ) และอารบิก (ภาษาชาวสินธี ฯ) ที่มา  https://www.getit01.com/p20180114868269212/ ภาษาสินธี Sindhi توهان جو نالو ڇا آهي؟ (อ่านว่า ตุหันโจ นาโล ฉา อาเฮ) แปล อะไรคือชื่อของคุณ? ภาษาอูรดู Urdu آپ کا نام کیا ہے (อ่าน อาปกา นาม กฺยา แฮ) แปล อะไรคือชื่อของคุณ? ภาษาฮินดี Hindi आपका नाम क्या है (อ่าน อาปกา นาม กฺยา แฮ) แปล อะไรคือชื่อของคุณ? ภาษาเนปาลี Nepali तपाई को नाम के हो? (อ่าน ตะปาอีม์ โก นาม เก โฮ) แปลว่า อะไรคือชื่อของคุณ? ภาษามราฐี Marathi आपले नाव काय आहे? (อ่าน อาปเล นาว กาย อาเฮ) แปล อะไรคือชื่อของคุณ? ภาษาเบงกาลี Bengali আপনার নাম কি? (อ่าน อาปนาร นาม กิ)  แปล อะไรชื่อของคุณ? ………………………. ภาษาสินธี Sindhi ڪيترو؟ (กีตรู) แปล เท่าไร? ภาษาอูรดู Urdu کتنا ؟ (อ่าน กิตนา) แปล เท่าไร? ภาษาฮินดี Hindi कितना? (อ่าน กิตนา) แปล เท่าไร? ภาษาเนปาลี Nepali कति ? (อ่าน กะติ) แปล เท่าไร? ภาษามราฐี Marathi किती (อ่าน กิตี) แปล เท่าไร?   ภาษาเบงกาลี Bengali  কত (กะตะ) แปล เท่าไร?  ………………………… ภาษาสินธี Sindhi بابا ڪٿي آهي (อ่าน บาบา กีเถ อาเฮ) แปล พ่ออ

อาจาด ไม่ใช่คำยืมภาษาทมิฬ

  ผักผลไม้ดองของทมิฬเรียกว่า ஊறுகாய் อู-หรุ-กาย ซึ่ง พวกผลไม้ที่ใช้ทำดองของทมิฬมีการปรุงเก็บไว้แล้วเวลากินเทออกมาเป็นเครื่องจิ้มแบบอาจาดเลย เช่น 1. மாங்காய் ஊறுகாய் (มางกาย อู-หรุ-กาย) மாங்காய் (มางกาย) มะม่วง + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = มะม่วงดอง หรือมะม่วงอาจาด 2. எலுமிச்சை ஊறுகாய்   (เอะลุมิซไซ อู-หรุ-กาย) எலுமிச்சை   เอะลุมิจไจ (ออกเสียงแบบคนกรุง เอะลุมิซไซ) + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = มะนาวดอง หรือมะนาวอาจาด 3. நெல்லிக்காய் ஊறுகாய் (เนลลิกกาย อู-หรุ-กาย) நெல்லிக்காய் (เนลลิกกาย) + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = มะขามป้อมดอง หรือมะขามป้อมอาจาด 4. பூண்டு ஊறுகாய் (ปูณฑุ อู-หรุ-กาย) பூண்டு (ปูณฑุ) กระเทียม + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = กระเทียมดอง หรือกระเทียมอาจาด 5. வெள்ளரிக்காய் ஊறுகாய் (เวลละริกกาย อู-หรุ-กาย) வெள்ளரிக்காய் (เวลละริกกาย) แตงกวา + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = แตงกวาดอง หรือแตงกวาอาจาด ฯลฯ อ่านเองได้จากในภาพภาษาทมิฬ ส่วน อาจาร เป็นคำยืมมาจากภาษาฮินดูสตานีซึ่งได้แก่ภาษาอุรดู และฮินดี   ในภาษาเปอร์เซีย ( Far

“กุลี” จากทหารเสือแห่งกษัตริย์ออตโตมันโบราณสู่แรงงานทาส

กุลี क़ुली قلی ‎  köle 苦力 Coolie     คำว่ากุลีที่ไทยอ้างว่ายืมทมิฬมาไม่ได้มีต้นกำเนิดจากทมิฬ แต่เก่าแก่กว่านั้น มีทั้งในภาษาตุรกีโบราณ สันสกฤต อุรดู   เบงกาลี และคุชราต ฯลฯ Refer to:  https://gfycat.com/gifs/search/turkish+empire 1) คำว่ากุลี จากรากศัพท์ที่แปลว่า มือ หรือ แขน  5  ร้อยปีก่อนคริสตกาล  ภาษาก่อนพัฒนาเป็นภาษาตุรกี (Proto-Turkic language) قول  qol  แปลว่า แขน , กองทหารลาดตระเวน ทหารเดินเท้า 2000-600 ปีก่อนคริสตกาล (ยุคพระเวท) 700 ปีก่อนคริสตกาล – คริสต์ศตวรรษที่ 13 (ยุคหลังพระเวท)    สันสกฤตคำว่า कुलि kuli แปลว่า มือ  (ถ้าตามทฤษฎีว่า  uvular q  ที่ไม่มี ในสันสกฤต มาก่อน แสดงว่า กุลิ ที่แปลว่ามืออาจจะเข้ามาสู่สันสกฤตยุคหลังพระเวท?) คริสต์ศตวรรษที่ 7 – ปัจจุบัน ภาษาอาเซอรี หรือ อาเซอร์ไบจาน Azeri (arabic Script) قول ‎ Qol แปลว่า แขน , พาหุ (อาเซอร์ไบจานกำลังเป็นข่าวว่ามีสงครามกับอาร์เมเนีย) >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>   Refer to:  https://timesofindia.indiatimes.com/7-woman-coolie-carries