ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2023

อาณฺฑาลฺ เทวี : ตำนานเทวทาสีในยุคแรกแห่งอินเดียใต้

รูปเทวี อาณฺฑาลฺ ที่มา  https://en.wikipedia.org/wiki/Andal อาณฺฑาลฺ ஆண்டாள் (ตำนานเทวทาสีในยุคแรกแห่งอินเดียใต้) ............ อาณฺฑาลฺ (เขียนอาณฺฑาลฺ อ่านอาณ-ดาลฺ) เดิมนางชื่อว่า โกไต கோதை (พวงดอกไม้ของสตรี, ผมของสตรี, ภูต, สายลม) ......... มีตำนานเล่าว่า ในหมู่บ้านหนึ่งใกล้กับนครมะดูไรซึ่งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑูมีพรามหณ์คนหนึ่ง นามว่า วิษณุสิทธา มีหน้าที่ในการจัดหาดอกไม้เพื่อไปถวายแก่เหล่าเทพที่วัดติรุวิลฺลิปุตฺตูรฺ (திருவில்லிபுத்தூர்) วันหนึ่งขณะที่พราหมณ์ผู้นี้ปฏิบัติหน้าที่เหมือนทุกวัน บังเอิญไปพบกับเด็กทารกหญิงผู้หนึ่งอยู่ในบริเวณใต้ต้นตุลสี (กะเพรา) ภายในสวนของเทวาลัย นึกเอ็นดูจึงเลี้ยงดูเด็กหญิงผู้นั้น เป็นบุตรบุญธรรมและตั้งชื่อให้เด็กทารกนี้ว่า "โกไต" ด้วยความที่เด็กน้อยผู้นี้อาศัยกับพราหมณ์ หาดอกไม้ถวายพระเจ้า ขับร้องเพลงถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าอยู่เป็นประจำ ด้วยการเลี้ยงดูเช่นนี้ทำให้เด็กมีความผูกพันกับพระเป็นเจ้าเป็นอย่างมาก พรามหณ์ก็ได้สอนวิชาความรู้ทุกอย่างให้กับนาง และนางได้แต่งบทเพลงและขับร้องถวายต่อพระกฤษณะ (ปางหนึ่งของพระนารายณ์หรือวิษณุ) ผู้เป็นเทพเจ้าที่เธอรักยิ่

นางเทวทาสี จากสตรีศักดิ์สิทธิ์สู่หญิงบำเรอชาย

  ภาพนางเมธาวี (เทวทาสี) กับโกวะลัน ในเรื่องศิลปธิการัม ที่มา  https://en.wikipedia.org/wiki/Madhavi_%28Silappatikaram%29 นางเทวทาสี แบ่งเป็น 4 ยุค 1. ยุคแรกได้รับการยกย่องจากชาวบ้านเป็นสตรีศักดิ์ เช่นเดียวกับพระกุมารีของธิเบต หรือดังเช่นเรื่องราวของ อาณฺฑาลฺ (อ่านอาน-ดาล) ผู้แต่งงานกับพระเจ้า (พระนารายณ์) สมัยนี้นางเทวทาสีเป็นพรหมจรรย์ไม่แต่งงานกับใคร และได้รับเงินบริจาคจากหัวหน้าชุมชนและประชาชนผู้ศรัทธาเช่นเดียวกับกุมารีของธิเบต ในสมัยนี้ "เกิดกฎหมายในอินเดียใต้ว่า สตรีที่เป็นนางเทวทาสีสามารถได้รับมรดกจากบิดามารดาได้" (ปกติสตรีทั่วไปจะไม่ได้รับมรดกจากบิดา น่าจากเป็นอิทธิพลของสังคมมาตาธิปไตยที่หลงเหลืออยู่) .......... 2. ยุคที่สอง (ยุคมหากาพย์พุทธศาสนาของอินเดียใต้) มีปรากฏในวรรณคดีมหากาพย์ไชนะเรื่อง "ศิลปธิการัม" ภาษาทมิฬ ว่า นางเมธาวี ผู้เป็นนางเทวทาสี ได้รับสมบัติทั้งหมดของเศรษฐีหนุ่มโกวะลัน கோவலன் จนนางยอมเป็นภรรยาน้อยของเขา ก่อนที่โกวะลันจะทิ้งนางกลับไปหานางกัณณกิ ผู้เป็นภรรยาหลวง (கண்ணகி เขียน กัณณกิ อ่าน กัน-นะ-กี กฎเป็นคุรุที่สุดศัพท์ของทมิฬ, ก่อนเอากำไลนาง