ภาพนางเมธาวี (เทวทาสี) กับโกวะลัน ในเรื่องศิลปธิการัม
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Madhavi_%28Silappatikaram%29
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Madhavi_%28Silappatikaram%29
นางเทวทาสี แบ่งเป็น 4 ยุค
1. ยุคแรกได้รับการยกย่องจากชาวบ้านเป็นสตรีศักดิ์ เช่นเดียวกับพระกุมารีของธิเบต หรือดังเช่นเรื่องราวของ อาณฺฑาลฺ (อ่านอาน-ดาล) ผู้แต่งงานกับพระเจ้า (พระนารายณ์) สมัยนี้นางเทวทาสีเป็นพรหมจรรย์ไม่แต่งงานกับใคร และได้รับเงินบริจาคจากหัวหน้าชุมชนและประชาชนผู้ศรัทธาเช่นเดียวกับกุมารีของธิเบต ในสมัยนี้ "เกิดกฎหมายในอินเดียใต้ว่า สตรีที่เป็นนางเทวทาสีสามารถได้รับมรดกจากบิดามารดาได้" (ปกติสตรีทั่วไปจะไม่ได้รับมรดกจากบิดา น่าจากเป็นอิทธิพลของสังคมมาตาธิปไตยที่หลงเหลืออยู่)
..........
2. ยุคที่สอง (ยุคมหากาพย์พุทธศาสนาของอินเดียใต้) มีปรากฏในวรรณคดีมหากาพย์ไชนะเรื่อง "ศิลปธิการัม" ภาษาทมิฬ ว่า นางเมธาวี ผู้เป็นนางเทวทาสี ได้รับสมบัติทั้งหมดของเศรษฐีหนุ่มโกวะลัน கோவலன் จนนางยอมเป็นภรรยาน้อยของเขา ก่อนที่โกวะลันจะทิ้งนางกลับไปหานางกัณณกิ ผู้เป็นภรรยาหลวง (கண்ணகி เขียน กัณณกิ อ่าน กัน-นะ-กี กฎเป็นคุรุที่สุดศัพท์ของทมิฬ, ก่อนเอากำไลนางกัณณกิไปขายถูกโกงและถูกใส่ร้ายจนต้องประหารชีวิต) แสดงว่า นางเทวทาสีในสมัยนั้นเป็นเสรีชน ตามระบบมาตาธิปไตย นางจะเป็นภรรยาใครก็ได้ถ้าทำให้นางพอใจ ยุคนี้นางเทวทาสีไม่ได้รับการยกย่องเช่นยุคแรกแต่ก็ยังไม่เป็นที่รังเกียจ แต่ในยุคนี้นางเทวทาสีก็มีปัญหารักกับเจ้าชายหรือกษัตริย์ ดังเช่นเรื่องของนางมณ๊เมขไล (มหากาพย์พุทธศาสนา) ทำให้ปรากฏกฎหมายในอินเดียใต้ว่า "ลูกที่เกิดจากนางเทวทาสี จะสืบราชบัลลังก์ไม่ได้ ในอินเดียใต้"
.........
(ต่างจากเรื่องดอกจำปา7ดอก (সাত ভাই চম্পা สาต ภาอี จัมปา) นิทานรัฐเบงกอลที่สุดท้าย มารดาที่เป็นอดีตนางเทวทาสีกับเจ้าชายทั้งเจ็ดได้กลายเป็นพระชายากับพระราชบุตร)
.........
ยุคที่สองนี้นางเทวทาสี แม้ไม่ได้รับความเคารพและเงินบริจาคจากประชาชน แต่ก็ได้รับสนับสนุนจากหัวหน้าชุมชน พราหมณ์ เศรษฐี และกษัตริย์ นางเทวทาสีสวยและเลือกได้ (เฉพาะวรรณะสูง)
..........
3 ยุคที่เสื่อม นางเทวทาสีถูกทอดทิ้ง หลังจากฝรั่งเข้ามา กษัตริย์ เศรษฐีอินเดียหมดอำนาจ ศาสนาฮินดู เทวาลัยหลายแห่งที่รำรวยถูกฝรั่งปล้น นางเทวทาสีหลายคนจึงไปประกอบอาชีพไม่ดีที่บำเรอชายทั่วไปไม่เลือกวรรณะ จนเกิดคติในรัฐทมิฬนาฑูว่า "ห้ามลูกหลานไปเรียนเต้นรำ ฟ้อนรำ แบบพวกนางเทวทาสี เดี๋ยวจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี"
.........................
4. ยุคฟื้นฟูการเต้นรำ ชนชั้นสูงต่าง ๆ กลัวว่าการเต้นรำประจำชาติจะสูญหาย จึงไปศึกษาจากนางเทวทาสีที่เหลืออยู่ และตัดท่าทางยั่วยวนทั้งหมดทิ้งไป และเผยแพร่การเต้นรำแต่การเต้นรำเพื่อบูชาพระเจ้า ในหมู่สตรีวรรณะสูง ๆ เท่านั้น ทำให้ล้างทัศนะคติที่ได้ดีเกี่ยวกับการเต้นรำประจำชาติต่าง ๆ ในอินเดียหมดไป แต่ยุคนี้ฟื้นฟูเฉพาะการเต้นรำเท่านั้น
- ส่วนนางเทวทาสีที่ยังเหลืออยู่ในท้องถิ่นบางแห่งยังมีหน้าที่บำเรอชาย เนื่องจากมรดกที่ตกทอดมาจากยุคเสื่อมจนถึงปัจจุบัน โดยที่คำว่า "นางเทวทาสี (ทาสีของพระเจ้า/ผู้ภักดีต่อพระเจ้าดังเช่นทาสผู้หญิง)" "นางโยคินี (พระโยคีผู้หญิง) " ไม่ได้ใช้ในความหมายเดิมของรากศัพท์ที่เป็นคำสแลงว่าหมายถึง นางบำเรอชายในวัดบางแห่งที่ยังไม่ได้มีความเจริญของอินเดียในปัจจุบันเข้าไปถึง โดยหญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นหญิงยากจน ที่มีทักษะการเต้นรำฟ้อนรำสู้สตรีชั้นสูงของอินเดียที่สืบทอดการเต้นรำมาจากนางเทวทาสีโบราณโดยตรงไม่ได้
.........
- กล่าวคือผู้สืบทอดทักษะการเต้นรำของนางเทวทาสีแต่โบราณคือ ศิลปินนักแสดง ครูสอนเต้นรำของอินเดียปัจจุบัน
.........
- แต่ผู้ที่สืบทอดหน้าที่บำเรอชายจากยุคเสื่อมของนางเทวทาสี ไม่ได้รับการศึกษา ไม่ได้เรียนเต้นรำชั้นสูงที่สวยงาม เรียนแต่การเต้นรำพื้นบ้านทั่วไป คือหญิงสาวยากจน ในหมู่บ้านที่อุปโลกน์ขึ้นใหม่ (ปัจจุบันถ้ารวยครอบครัวดีก็ไม่มีใครให้ลูกไปเป็นนางเทวทาสี)
..........
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น