ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

อาจาด ไม่ใช่คำยืมภาษาทมิฬ

  ผักผลไม้ดองของทมิฬเรียกว่า ஊறுகாய் อู-หรุ-กาย ซึ่ง พวกผลไม้ที่ใช้ทำดองของทมิฬมีการปรุงเก็บไว้แล้วเวลากินเทออกมาเป็นเครื่องจิ้มแบบอาจาดเลย เช่น 1. மாங்காய் ஊறுகாய் (มางกาย อู-หรุ-กาย) மாங்காய் (มางกาย) มะม่วง + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = มะม่วงดอง หรือมะม่วงอาจาด 2. எலுமிச்சை ஊறுகாய்   (เอะลุมิซไซ อู-หรุ-กาย) எலுமிச்சை   เอะลุมิจไจ (ออกเสียงแบบคนกรุง เอะลุมิซไซ) + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = มะนาวดอง หรือมะนาวอาจาด 3. நெல்லிக்காய் ஊறுகாய் (เนลลิกกาย อู-หรุ-กาย) நெல்லிக்காய் (เนลลิกกาย) + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = มะขามป้อมดอง หรือมะขามป้อมอาจาด 4. பூண்டு ஊறுகாய் (ปูณฑุ อู-หรุ-กาย) பூண்டு (ปูณฑุ) กระเทียม + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = กระเทียมดอง หรือกระเทียมอาจาด 5. வெள்ளரிக்காய் ஊறுகாய் (เวลละริกกาย อู-หรุ-กาย) வெள்ளரிக்காய் (เวลละริกกาย) แตงกวา + ஊறுகாய் (อู-หรุ-กาย) ของดอง = แตงกวาดอง หรือแตงกวาอาจาด ฯลฯ อ่านเองได้จากในภาพภาษาทมิฬ ส่วน อาจาร เป็นคำยืมมาจากภาษาฮินดูสตานีซึ่งได้แก่ภาษาอุรดู และฮินดี   ในภาษาเปอร์เซีย ( Far

“กุลี” จากทหารเสือแห่งกษัตริย์ออตโตมันโบราณสู่แรงงานทาส

กุลี क़ुली قلی ‎  köle 苦力 Coolie     คำว่ากุลีที่ไทยอ้างว่ายืมทมิฬมาไม่ได้มีต้นกำเนิดจากทมิฬ แต่เก่าแก่กว่านั้น มีทั้งในภาษาตุรกีโบราณ สันสกฤต อุรดู   เบงกาลี และคุชราต ฯลฯ Refer to:  https://gfycat.com/gifs/search/turkish+empire 1) คำว่ากุลี จากรากศัพท์ที่แปลว่า มือ หรือ แขน  5  ร้อยปีก่อนคริสตกาล  ภาษาก่อนพัฒนาเป็นภาษาตุรกี (Proto-Turkic language) قول  qol  แปลว่า แขน , กองทหารลาดตระเวน ทหารเดินเท้า 2000-600 ปีก่อนคริสตกาล (ยุคพระเวท) 700 ปีก่อนคริสตกาล – คริสต์ศตวรรษที่ 13 (ยุคหลังพระเวท)    สันสกฤตคำว่า कुलि kuli แปลว่า มือ  (ถ้าตามทฤษฎีว่า  uvular q  ที่ไม่มี ในสันสกฤต มาก่อน แสดงว่า กุลิ ที่แปลว่ามืออาจจะเข้ามาสู่สันสกฤตยุคหลังพระเวท?) คริสต์ศตวรรษที่ 7 – ปัจจุบัน ภาษาอาเซอรี หรือ อาเซอร์ไบจาน Azeri (arabic Script) قول ‎ Qol แปลว่า แขน , พาหุ (อาเซอร์ไบจานกำลังเป็นข่าวว่ามีสงครามกับอาร์เมเนีย) >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>   Refer to:  https://timesofindia.indiatimes.com/7-woman-coolie-carries

วิชาภาษาฮินดี (สอบปฏิบัติ 3)

 บทสนทนาซื้อของ หมายเหตุ : (ต้องอ่านตรงนี้ให้เข้าใจก่อนจับคู่สนทนา) 1) การออกพยัญชนะ เสียง ช ออกใกล้เคียง จ เสียง ค ออกใกล้เคียง ก ,ส่วน ท ออกเป็น ด แทนเลย ,พ ออกเป็น บ , ภ ออก เป็น พ , ศ (ซ ไม่รัวลิ้น) / ษ (ซ รัวลิ้น) และ ซ (ช จุดใต้) ออกเป็น ซ, ฑฺ มีจุดใต้ออกเป็น ร , ฒ มีจุดใต้ออกเป็น รฺห, ผ จุดใต้เป็นเสียง ฟ , เอา ออกเป็น เอา หรือออ บ้าง (คำโบราณจะออกเป็น เอา โดยเฉพาะชื่อคน) แต่ถ้า เอา มีตัวสะกดตามมาออกเป็น ออ ,อา มีเครื่องหมายจันทร์ด้านบนแต่ไม่มีพินทุ จุด ออกเป็น ออ ทั้งหมด 2) เปลี่ยนเพศกริยาชายให้เป็นหญิง (เฉพาะผู้หญิง) ที่สำคัญคือตา (เอกพจน์) เต (พหูพจน์) ให้เปลี่ยนเป็น ตี เช่น สะกะตา สำหรับผู้ชาย ผู้หญิงที่เป็นผู้พูดให้เปลี่ยนเป็น สะกะตี และคำกริยาที่ลงท้าย คา (เอกพจน์) เค (พหูพจน์) ให้เปลี่ยนเป็น คี คำกริยาที่ลงท้าย เช่น ชาเองเค เปลี่ยนเป็น ชาเองคี , เทงเค เปลี่ยนเป็น เทงคี , กิยา ให้เปลี่ยนเป็น กี และ ทิยา ให้เปลี่ยนเป็น ที (ออกเสียง ดี) , กะรูงคา ถ้าเป็นหญิงก็ต้องเปลี่ยนเป็น กะรูงคี ,จาหูงคา ต้องเปลี่ยนเป็น จาหูงคี , คะยา ผู้หญิงเปลี่ยนเป็น คะอี ทั้งหมด refer to:  https://ten