ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

นร และมาดา ในภาษาฮินดี

นร (นะ - ระ) แปลว่า คน , มนุษย์  เป็นเพศชาย  ถ้าเป็นเพศหญิงใช้ว่า นรี (นะ-รี) หรือ นารี (นา - รี) วา ในภาษาสันสกฤต แปลว่า หรือ กิม ในภาษาสันสกฤต แปลว่า อะไร สิงหะ (สิง - หะ) สีหะ (สี -หะ) หรือสิงห์ (สิง) ในภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า สิงโตอินเดีย ไทยเอามาใช้เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งตระกูลเสือ ที่มา :  https://www.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g303879-d2542575-i97623534-Gir_National_Park_and_Wildlife_Sanctuary-Junagadh_Junagadh_District_Gujar.html     วา + นร = วานร (วา - นะ- ระ / วา - นอน) แปลตามรากศัพท์ว่า "นี่หรือคน?" หมายถึงสัตว์จำพวกลิง     กิม+นร = กินนร (เพศชาย) กินนรี (เพศหญิง แต่ไทยใช้ว่า กินรี) ซึ่งเสียง /ม/ ของคำว่ากิม กลายเป็นเสียง /น/ เพราะกฎการกลมกลืนเสียงตามเสียงหลังคือเสียง /น/ จากคำว่า นร (เพราะ /ม/ และ /น/ ต่างก็เป็นพยัญชนะนาสิกที่สุดพยัญชนะ วรรค)       โดยคำว่า กินนร แปลตามรากศัพท์แปลว่า "คนอะไร" หมายถึงครึ่งคนครึ่งนกในวรรณคดีบาลี แต่ในวรรณคดีสันสกฤต กินนรคืออมนุษย์ชนิดหนึ่งที่ตัวเป็นคนหน้าเป็นสัตว์ โดยมากเป็นม้า ส่

แรด ในภาษาฮินดีและสันสกฤต

       ตระกูลแรดมีทั้งสิ้น 5 ชนิด นอกจากแรดแล้วยังมี กระซู่ แรดอินเดีย แรดขาว และแรดดำ สัตว์ในตระกูลแรดอาจเรียกเหมารวมกันว่า แรด ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงแรดคำเดียว อาจหมายถึงแรดชนิดใดชนิดหนึ่งในห้าชนิดนี้ หรืออาจหมายถึงแรดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoceros sondaicusนี้ก็ได้ ด้วยเหตุนี้การเอ่ยเพียงคำว่า "แรด" (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ. 2061: ออนไลน์)      ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน  คำว่า ระมาด เป็นคำนาม แปลว่า แรด เป็นคำยืมภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า รมาส ในภาษาเขมร เป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ (แรดอินเดีย?)      แรดในภาษาฮินดี และสันสกฤตได้แก่ गैंडा ฮินดี ไคณฑา แรดตัวผู้ नर   गैंडा ฮินดี นัร ไคณฑา แรดตัวผู้ मादा   गैंडा ฮินดี มาดา ไคณฑา แรดตัวเมีย गण्डक สันสกฤต คณฺฑก แรดตัวผู้ एकशृङ्ग สันสกฤต เอกศฤงฺค แรดตัวผู้ खड्ग สันสกฤต ขงฺค แรดตัวผู้ नासिकामूल สันสกฤต นาสิกามูล แรดตัวผู้ क्रोधिन् สันสกฤต โกฺรธินฺ แรดตัวผู้ मुखशृङ्ग สันสกฤต มุขศฤงฺค แรดตัวผู้ गणोत्साह สันสกฤต คโณตฺส

วิทยาลัยนานาชาติฮินดีสันสถานสาขาเดลลี (สำหรับคนมีตังค์)

ภาพที่ ๑ การประชุมวิชาการภาษาฮินดีที่เดลลี ที่มา :  http://khsindia.org/india/en/ ภาพที่ ๒ เกนทริยะ ฮินดี สันสถาน สาขาเดลลี ที่มา:  https://www.indiatoday.in/india/north/story/hindi-as-official-language-yet-it-languishes-mha-mhrd-117245-2012-09-28      ถ้านักศึกษาต่างชาติได้ทุนรัฐบาลอินเดียให้เรียนฟรีจะถูกส่งไปเรียนที่สาขาอาครา แต่ถ้าจะจ่ายตังค์เรียนเองต้องมาเรียนที่เมืองเดลลี ซึ่งจะมีชาวญี่ปุ่น อเมริกา และชาวยุโรปผู้สนใจภาษาฮินดีและฐานะดีสมัครมาเรียนเป็นส่วนใหญ่ คณะหรือภาควิชาต่าง ๆ ของวิทยาลัยฮินดีสันสถาน ได้แก่ Department of Teachers Education คณะครุศาสตร์ अध्यापक शिक्षा विभाग (อัธยาปัก ศิกษา วิภาค) Department of International Hindi Teaching คณะการสอนฮินดีวิเทศศาสตร์ (นานาชาติ) अंतरराष्ट्रीय हिंदी शिक्षण विभाग (อันตรราษฏริยะ ฮินดี ศิกษัณ วิภาค) Department of Orientation and Language Extension  ศูนย์ศึกษาแนะแนว และการเผยแพร่ภาษา (สำหรับการพัฒนาครูสอนภาษาฮินดีในประเทศต่าง ๆ ด้ายเทคนิคใหม่ ๆ และโปรแกรมการสอน) नवीकरण एवं भाषा प्रसार विभाग (นวีกรัณ เอวัง ภาษา

วิทยาลัยนานาชาติ "ฮินดี สันสถาน" ศูนย์ศึกษาภาษาฮินดีที่เมืองอาครา ประเทศอินเดีย

  केंद्रीय हिंदी संस्थान , आगरा ( Central Institute of Hindi)  เกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา (ศูนย์ศึกษาภาษาฮินดี)  ภาพที่ ๑ เกนทรียะ ฮินดี สันสถาน , อาครา มุขยาลัย เอวัง (และ) คานธี ภะวัน ที่มา : วิทยาลัยเกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา http://khsindia.org/india/en/  ภาพที่ ๒ ตราประจำวิทยาลัย ที่มา : วิทยาลัยเกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา http://khsindia.org/india/en/ คำขวัญ : ชโยติต โห ชน-ชน กา ชีวัน (แสงสว่างแห่งชีวิตของมวลชน)      ผู้สนใจเรียนภาษาฮินดีที่ประเทศอินเดีย สามารถขอทุนได้จากรัฐบาลอินเดีย โดยถ้าต้องการไปเรียนภาษาฮินดีระดับต้น จะไปศึกษาที่ศูนย์ศึกษาภาษาฮินดีคือ เกนทริยะ ฮินดี สันสถาน ( Kendriya Hindi Sansthan) สาขาเมืองอาครา หรือผู้ใช้ทุนของตนเองก็ไปจ่ายเองและสมัครเรียนที่ เกนทริยะ ฮินดี สันสถาน ( Kendriya Hindi Sansthan) สาขาเมืองเดลลี ซึ่งจะมี ๔ หลักสูตร ตั้งแต่ชั้นต้น ไปจนถึงชั้นสูง โดยที่ในระดับชั้นที่ ๒ และ ๓ เทียบเท่ากับอนุปริญญา ชั้นที่ ๔ คือหลังอนุปริญญา โดยนักศึกษาต่างชาติผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีอายุระหว่าง ๒๑-๓๕ ปี โดยแต