นร (นะ - ระ) แปลว่า คน , มนุษย์ เป็นเพศชาย ถ้าเป็นเพศหญิงใช้ว่า นรี (นะ-รี) หรือ นารี (นา - รี)
วา ในภาษาสันสกฤต แปลว่า หรือ
กิม ในภาษาสันสกฤต แปลว่า อะไร
สิงหะ (สิง - หะ) สีหะ (สี -หะ) หรือสิงห์ (สิง) ในภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า สิงโตอินเดีย ไทยเอามาใช้เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งตระกูลเสือ
วา + นร = วานร (วา - นะ- ระ / วา - นอน) แปลตามรากศัพท์ว่า "นี่หรือคน?" หมายถึงสัตว์จำพวกลิง
กิม+นร = กินนร (เพศชาย) กินนรี (เพศหญิง แต่ไทยใช้ว่า กินรี) ซึ่งเสียง /ม/ ของคำว่ากิม กลายเป็นเสียง /น/ เพราะกฎการกลมกลืนเสียงตามเสียงหลังคือเสียง /น/ จากคำว่า นร (เพราะ /ม/ และ /น/ ต่างก็เป็นพยัญชนะนาสิกที่สุดพยัญชนะ วรรค)
โดยคำว่า กินนร แปลตามรากศัพท์แปลว่า "คนอะไร" หมายถึงครึ่งคนครึ่งนกในวรรณคดีบาลี แต่ในวรรณคดีสันสกฤต กินนรคืออมนุษย์ชนิดหนึ่งที่ตัวเป็นคนหน้าเป็นสัตว์ โดยมากเป็นม้า ส่วนพวกอมนุษย์ที่ตัวเป็นสัตว์หน้าเป็นคนในวรรณคดีสันสกฤตเรียกว่า "กิมปุรุษะ"
ซึ่งไม่ว่าจะเป็น กินรี (ท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก/ คนมีปีก) หรือตัวอรหัน (ออ-ระ-หัน) หรือจิงโจ้ ก็ว่าซึ่งเป็น นกหน้าคน คนอินเดียเข้าใจว่าเป็นกินรีในวรรณคดีบาลีหมด เพราะกินรี ดังและเป็นที่นิยมกว่าตัวอรหัน
และนอกจากนี้เชื่อว่าตามวรรณคดีสันสกฤตจะเรียกพวกครึ่งคนครึ่งนกว่า ครุฑ (เพศชาย) ครุฑ ปัตนี (เมียครุฑ เพศหญิง) ส่วนพวกกินนร กินรี คืออมุษย์ร่างมนุษย์ หน้าเป็นม้าเหมือนนางแก้วหน้าม้า แต่ต่อมาเมื่ออิทธิพลทางวรรณคดีพุทธศาสนามีอิทธิพลไปทั่วโลก นักโบราณคดีอินเดียดูจะพอใจกับการใช้คำว่า กินนร ปักษี หรือกินรี เรียกรูปสลักครึ่งคนครึ่งนก เช่นกัน ดังนั้นนัยยะของ "กินนร" ที่มีความหมายโดยรากศัพท์ว่า "คนอะไร?" จึงหมายถึงอมนุษย์ที่เป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ด้วย
ในปัจจุบันคำว่า กินนรี (ภาษาฮินดี) หรือ กินรีในภาษาไทย เป็นสแลงในภาษาอินเดียแปลว่า เกย์ หรือชายรักชายที่แต่งเป็นหญิง (คนอะไร?) เทียบได้กับสแลงในภาษาอังกฤษว่า angel / fairy (นางฟ้า)
อ่านเรื่องตัวอรหัน และพระอรหันต์ ได้ที่เว็บไซต์ของราชบัณฑิต ตามลิงก์คือ; http://www.royin.go.th/?knowledges=อรหัน-กับ-อรหันต์-๗-พฤศจิ
นร+ สิงห์ = นรสิงห์ หมายถึงอมนุษย์ชนิดหนึ่บที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโต ซึ่งนรสิงห์ตนแรกคือสิงหาวตารคือพระนารายณ์ปางหนึ่งที่แปลงมาใช้กรงเล็บแหกอกฆ่าอสูรร้ายผู้ครองจักรวาลที่ชื่อว่า หรัณยกศิปุ (พ่อของท้าวประหลาด ทวดของเจ้ากรุงพาลพญาอสูรผู้ครองบาดาลโลก) ซึ่ง ได้พรจากพระพรหมว่าขออย่าได้ถูกใคร หรืออาวุธใด ๆ ที่เขารู้จักฆ่าตาย โดยนัยหนึ่งนรสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ผู้กล้าหาญดุจสิงโต เพราะคนดินเดียสมัยโบราณ ยกย่องวัวตัวผู้ และสิงโต ซึ่งการนับถือวัว และสิงโตว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีมาตั้งแต่อารยธรรมอียิปต์โบราณ กรีก และบาบิโลน เช่นการที่วีรบุรุษหรือเทพกรีก เฮอร์คิวลิส (Hercules) และ กิลกาเมซ (Gilgamesh) กษัตริย์ผู้ครองนครอุรุคและอาณาจักรบาบิโลน สร้างวีรกรรมด้วยการปราบหรือมีอำนาจเหนือสิงโต เป็นต้น
วา ในภาษาสันสกฤต แปลว่า หรือ
กิม ในภาษาสันสกฤต แปลว่า อะไร
สิงหะ (สิง - หะ) สีหะ (สี -หะ) หรือสิงห์ (สิง) ในภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า สิงโตอินเดีย ไทยเอามาใช้เป็นสัตว์ป่าหิมพานต์ชนิดหนึ่งตระกูลเสือ
วา + นร = วานร (วา - นะ- ระ / วา - นอน) แปลตามรากศัพท์ว่า "นี่หรือคน?" หมายถึงสัตว์จำพวกลิง
กิม+นร = กินนร (เพศชาย) กินนรี (เพศหญิง แต่ไทยใช้ว่า กินรี) ซึ่งเสียง /ม/ ของคำว่ากิม กลายเป็นเสียง /น/ เพราะกฎการกลมกลืนเสียงตามเสียงหลังคือเสียง /น/ จากคำว่า นร (เพราะ /ม/ และ /น/ ต่างก็เป็นพยัญชนะนาสิกที่สุดพยัญชนะ วรรค)
โดยคำว่า กินนร แปลตามรากศัพท์แปลว่า "คนอะไร" หมายถึงครึ่งคนครึ่งนกในวรรณคดีบาลี แต่ในวรรณคดีสันสกฤต กินนรคืออมนุษย์ชนิดหนึ่งที่ตัวเป็นคนหน้าเป็นสัตว์ โดยมากเป็นม้า ส่วนพวกอมนุษย์ที่ตัวเป็นสัตว์หน้าเป็นคนในวรรณคดีสันสกฤตเรียกว่า "กิมปุรุษะ"
ซึ่งไม่ว่าจะเป็น กินรี (ท่อนบนเป็นคนท่อนล่างเป็นนก/ คนมีปีก) หรือตัวอรหัน (ออ-ระ-หัน) หรือจิงโจ้ ก็ว่าซึ่งเป็น นกหน้าคน คนอินเดียเข้าใจว่าเป็นกินรีในวรรณคดีบาลีหมด เพราะกินรี ดังและเป็นที่นิยมกว่าตัวอรหัน
และนอกจากนี้เชื่อว่าตามวรรณคดีสันสกฤตจะเรียกพวกครึ่งคนครึ่งนกว่า ครุฑ (เพศชาย) ครุฑ ปัตนี (เมียครุฑ เพศหญิง) ส่วนพวกกินนร กินรี คืออมุษย์ร่างมนุษย์ หน้าเป็นม้าเหมือนนางแก้วหน้าม้า แต่ต่อมาเมื่ออิทธิพลทางวรรณคดีพุทธศาสนามีอิทธิพลไปทั่วโลก นักโบราณคดีอินเดียดูจะพอใจกับการใช้คำว่า กินนร ปักษี หรือกินรี เรียกรูปสลักครึ่งคนครึ่งนก เช่นกัน ดังนั้นนัยยะของ "กินนร" ที่มีความหมายโดยรากศัพท์ว่า "คนอะไร?" จึงหมายถึงอมนุษย์ที่เป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ด้วย
ในปัจจุบันคำว่า กินนรี (ภาษาฮินดี) หรือ กินรีในภาษาไทย เป็นสแลงในภาษาอินเดียแปลว่า เกย์ หรือชายรักชายที่แต่งเป็นหญิง (คนอะไร?) เทียบได้กับสแลงในภาษาอังกฤษว่า angel / fairy (นางฟ้า)
อ่านเรื่องตัวอรหัน และพระอรหันต์ ได้ที่เว็บไซต์ของราชบัณฑิต ตามลิงก์คือ; http://www.royin.go.th/?knowledges=อรหัน-กับ-อรหันต์-๗-พฤศจิ
นร+ สิงห์ = นรสิงห์ หมายถึงอมนุษย์ชนิดหนึ่บที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโต ซึ่งนรสิงห์ตนแรกคือสิงหาวตารคือพระนารายณ์ปางหนึ่งที่แปลงมาใช้กรงเล็บแหกอกฆ่าอสูรร้ายผู้ครองจักรวาลที่ชื่อว่า หรัณยกศิปุ (พ่อของท้าวประหลาด ทวดของเจ้ากรุงพาลพญาอสูรผู้ครองบาดาลโลก) ซึ่ง ได้พรจากพระพรหมว่าขออย่าได้ถูกใคร หรืออาวุธใด ๆ ที่เขารู้จักฆ่าตาย โดยนัยหนึ่งนรสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ผู้กล้าหาญดุจสิงโต เพราะคนดินเดียสมัยโบราณ ยกย่องวัวตัวผู้ และสิงโต ซึ่งการนับถือวัว และสิงโตว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์มีมาตั้งแต่อารยธรรมอียิปต์โบราณ กรีก และบาบิโลน เช่นการที่วีรบุรุษหรือเทพกรีก เฮอร์คิวลิส (Hercules) และ กิลกาเมซ (Gilgamesh) กษัตริย์ผู้ครองนครอุรุคและอาณาจักรบาบิโลน สร้างวีรกรรมด้วยการปราบหรือมีอำนาจเหนือสิงโต เป็นต้น
ภาพเทพ Maahes แห่งอียิปต์มีเศียรเป็นสิงโต
ในภาษาฮินดี คำว่า นร ไม่ได้แปลว่า มนุษย์เท่านั้นแต่ใช้แปลงศัพท์ที่ไม่ระบุเพศหญิง คือมีเพศชายอย่างเดียว หรือหญิงอย่างเดียวในสัตว์ต่าง ๆ ให้กลายเป็นเพศชายและหญิง โดยใช้คู่กับคำว่า มาดา (แม่) มีความหมายว่า พ่อแม่ เช่น ไคณฑา คือแรดเป็นศัพท์เพศชายเท่านั้นในภาษาฮินดี ไม่มีเพศหญิง เมื่อเติมคำว่า
นร ไว้ข้างหน้าเป็น นร ไคณฑา แปลว่า พ่อแรด
มาดา ไว้ข้างหน้าเป็น มาดา ไคณฑา แปลว่า แม่แรด เป็นต้น
गैंडा
|
ฮินดี
|
ไคณฑา
|
แรดตัวผู้
|
नर गैंडा
|
ฮินดี
|
นัร ไคณฑา
|
แรดตัวผู้
|
मादा गैंडा
|
ฮินดี
|
มาดา ไคณฑา
|
แรดตัวเมีย
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น