ตระกูลแรดมีทั้งสิ้น 5 ชนิด นอกจากแรดแล้วยังมี กระซู่ แรดอินเดีย แรดขาว และแรดดำ สัตว์ในตระกูลแรดอาจเรียกเหมารวมกันว่า แรด ดังนั้น เมื่อเอ่ยถึงแรดคำเดียว อาจหมายถึงแรดชนิดใดชนิดหนึ่งในห้าชนิดนี้ หรืออาจหมายถึงแรดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinoceros sondaicusนี้ก็ได้ ด้วยเหตุนี้การเอ่ยเพียงคำว่า "แรด" (สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ. 2061: ออนไลน์)
ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน คำว่า ระมาด เป็นคำนาม แปลว่า แรด เป็นคำยืมภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า รมาส ในภาษาเขมร เป็นชื่อสัตว์ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ (แรดอินเดีย?)
แรดในภาษาฮินดี และสันสกฤตได้แก่
แรดในภาษาฮินดี และสันสกฤตได้แก่
गैंडा
|
ฮินดี
|
ไคณฑา
|
แรดตัวผู้
|
नर गैंडा
|
ฮินดี
|
นัร ไคณฑา
|
แรดตัวผู้
|
मादा गैंडा
|
ฮินดี
|
มาดา ไคณฑา
|
แรดตัวเมีย
|
गण्डक
|
สันสกฤต
|
คณฺฑก
|
แรดตัวผู้
|
एकशृङ्ग
|
สันสกฤต
|
เอกศฤงฺค
|
แรดตัวผู้
|
खड्ग
|
สันสกฤต
|
ขงฺค
|
แรดตัวผู้
|
नासिकामूल
|
สันสกฤต
|
นาสิกามูล
|
แรดตัวผู้
|
क्रोधिन्
|
สันสกฤต
|
โกฺรธินฺ
|
แรดตัวผู้
|
मुखशृङ्ग
|
สันสกฤต
|
มุขศฤงฺค
|
แรดตัวผู้
|
गणोत्साह
|
สันสกฤต
|
คโณตฺสาห
|
แรดตัวผู้
|
खङ्गिन्
|
สันสกฤต
|
ขงฺคินฺ
|
แรดตัวผู้
|
वनोत्साह
|
สันสกฤต
|
วโนตฺสาห
|
แรดตัวผู้
|
मुखेबलिन्
|
สันสกฤต
|
มุเขพลินฺ
|
แรดตัวผู้
|
वार्ध्राणस
|
สันสกฤต
|
วารฺธฺราณส
|
แรดตัวผู้
|
तैतिल
|
สันสกฤต
|
ไตติล
|
แรดตัวผู้
|
क्रोडीमुख
|
สันสกฤต
|
โกฺรฑิมุข
|
แรดตัวผู้
|
वाध्रीणस
|
สันสกฤต
|
วาธฺรีณส
|
แรดตัวผู้
|
खड्गाह्व
|
สันสกฤต
|
ขฑฺคาหว
|
แรดตัวผู้
|
गण्ड
|
สันสกฤต
|
คณฺฑ
|
แรดตัวผู้
|
वार्ध्रीणस
|
สันสกฤต
|
วารฺธฺรีณส
|
แรดตัวผู้
|
तुङ्गमुख
|
สันสกฤต
|
ตุงฺคมุข
|
แรดตัวผู้
|
गजनक्र
|
สันสกฤต
|
คชนกฺร
|
แรดตัวผู้
|
वाध्रीणसक
|
สันสกฤต
|
วาธฺรีณสก
|
แรดตัวผู้
|
एकचर
|
สันสกฤต
|
เอกจร
|
แรดตัวผู้
|
स्वनोत्साह
|
สันสกฤต
|
สฺวโนตฺสาห
|
แรดตัวผู้
|
गण्डाङ्ग
|
สันสกฤต
|
คณฺฑางฺค
|
แรดตัวผู้
|
वज्रचर्मन्
|
สันสกฤต
|
วชฺรจรฺมนฺ
|
แรดตัวผู้
|
खड्गविषाण
|
สันสกฤต
|
ขฑฺควิษาณ
|
แรดตัวผู้
|
दौहित्र
|
สันสกฤต
|
เทาหิตฺร
|
แรดตัวผู้
|
खड्गिधेनुका
|
สันสกฤต
|
ขฑฺคิเธนุกา
|
แรดตัวเมีย
|
खड्गधेनु
|
สันสกฤต
|
ขฑฺคเธนุ
|
แรดตัวเมีย
|
खङ्ग धेनु
|
สันสกฤต
|
ขฑฺค เธนุ
|
แรดตัวเมีย
|
พฤติกรรมของแรด: แรดเป็นสัตว์สันโดษปกติจะอยู่เพียงตัวเดียวลำพังยกเว้นจับคู่ผสมพันธุ์และเลี้ยงดูลูกอ่อน บางครั้งจะมีการรวมฝูงเล็ก ๆ ที่โป่งหรือปลักโคลน การลงแช่ปลักเป็นพฤติกรรมที่พบได้ในแรดทุกชนิด เพื่อช่วยในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายและช่วยป้องกันผิวหนังจากปรสิตภายนอกและแมลงอื่น ๆ
วัยเจริญพันธุ์ : แรดเพศเมียถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ราว 3–4 ปีในขณะที่เพศผู้ที่ประมาณ 6 ปี ตั้งท้องประมาณ 16–19 เดือน ให้กำเนิดลูกห่างกัน 4–5 ปี ลูกแรดจะอยู่กับแม่จนถึงอายุ 2 ปี
1. ความเชื่อเกี่ยวกับแรด (ตำนานพรานป่า)
| |
1.1 แรดตัวเมียถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีความต้องการทางเพศสูงจนฆ่าตัวผู้ที่ไม่ยอมผสมพันธุ์
| |
1.2 แรดตัวเมียฆ่าลูกเพื่อจะผสมพันธุ์กับตัวผู้
| |
2. ความจริงเกี่ยวกับแรด (วิทยาศาสตร์)
| |
2.1 แรดอินเดียตัวเมียตัวหนึ่งถูกแรดตัวผู้สองตัวที่ต้องการจะผสมพันธุ์ด้วยขวิดตาย เพราะไม่ยอมผสมพันธุ์ด้วย เป็นข่าวเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา
| |
2.2 ลูกของสัตว์ตัวเมียในธรรมชาติส่วนใหญ่จะถูกตัวผู้ฆ่า เพื่อที่จะเร่งให้ตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ไวขึ้น
|
คำว่า แรด เป็นคำสแลงใหม่ถึงผู้หญิงที่ จัดจ้าน, ดัดจริต, แก่แดด, ไวไฟ ซึ่งอาจจะมาจากการที่แรดชอบเล่นปลักโคลน และแรดเพศเมียสามารถถึงวัยเจริญพันธุ์ได้เร็วคือราว 3–4 ปี มากกว่า ตำนานที่ว่าแรดมีอารมณ์ทางเพศรุนแรงจนฆ่าแรดตัวผู้ ซึ่งในนิยามความหมายของแรด คือพุ่งเข้าใส่ผู้ชายไม่ได้ฆ่าหรือทำร้ายผู้ชาย
........................ส่วนสัตว์ในธรรมชาติที่ผสมพันธุ์แล้วชอบฆ่าตัวผู้เป็นอาหารส่วนใหญ่มักจะเป็นสัตว์จำพวกแมลงมากกว่า เช่น แมงมุมแม่ม่ายดำ.......................................
1. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). (2061). ทรัพยากรณ์ชีวภาพสัตว์ "แรด". ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น. แหล่งที่มา: http://bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view2.aspx?id=9226
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น