ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิทยาลัยนานาชาติ "ฮินดี สันสถาน" ศูนย์ศึกษาภาษาฮินดีที่เมืองอาครา ประเทศอินเดีย



 केंद्रीय हिंदी संस्थान, आगरा (Central Institute of Hindi)


 เกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา (ศูนย์ศึกษาภาษาฮินดี)


 ภาพที่ ๑
เกนทรียะ ฮินดี สันสถาน , อาครา มุขยาลัย เอวัง (และ) คานธี ภะวัน
ที่มา : วิทยาลัยเกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา http://khsindia.org/india/en/


 ภาพที่ ๒ ตราประจำวิทยาลัย
ที่มา : วิทยาลัยเกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา http://khsindia.org/india/en/

คำขวัญ : ชโยติต โห ชน-ชน กา ชีวัน (แสงสว่างแห่งชีวิตของมวลชน)

     ผู้สนใจเรียนภาษาฮินดีที่ประเทศอินเดีย สามารถขอทุนได้จากรัฐบาลอินเดีย โดยถ้าต้องการไปเรียนภาษาฮินดีระดับต้น จะไปศึกษาที่ศูนย์ศึกษาภาษาฮินดีคือ เกนทริยะ ฮินดี สันสถาน (Kendriya Hindi Sansthan) สาขาเมืองอาครา หรือผู้ใช้ทุนของตนเองก็ไปจ่ายเองและสมัครเรียนที่ เกนทริยะ ฮินดี สันสถาน (Kendriya Hindi Sansthan) สาขาเมืองเดลลี ซึ่งจะมี ๔ หลักสูตร ตั้งแต่ชั้นต้น ไปจนถึงชั้นสูง โดยที่ในระดับชั้นที่ ๒ และ ๓ เทียบเท่ากับอนุปริญญา ชั้นที่ ๔ คือหลังอนุปริญญา โดยนักศึกษาต่างชาติผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีอายุระหว่าง ๒๑-๓๕ ปี โดยแต่ละหลักสูตรใช้เวลาเรียนประมาณ ๖-๘ เดือนเป็นหลัก โดยถ้าได้ทุนรัฐบาลอินเดียจะออกให้หมดทุกอย่างทั้งค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ (เฉพาะที่ได้ทุนมาเรียนฮินดีที่ฮินดีสันสถานสาขาอาครา) ค่าที่พัก ค่าเทอม และมีค่าเบี้ยเลี้ยงชีพให้นักศึกษาต่างชาติไว้ใช้แต่ละเดือนจำนวนหนึ่งด้วย ซึ่งถ้าประหยัดไม่ไปเที่ยวไหนเลย ก็สามารถอยู่ได้สบาย แต่ส่วนใหญ่นักศึกษาต่างชาติชอบเที่ยว ชอบเช่าจักรยานขี่ชมเมือง  ชอบเข้าไปกางเต้นท์ค้างในทัชมาฮาลในคืนพระจันทร์เต็มดวงซึ่งแสงพระจันทร์จะทำให้ทัชมาฮัล กลายเป็นสีชมพู ฯลฯ ซึ่งไม่เกี่ยวกับค่าเล่าเรียน จึงจะต้องจ่ายเอง ด้วยเงินส่วนตัว 
      โดยผู้ที่จะขอทุนไปเรียนที่ เกนทริยะ ฮินดี สันสถาน สาขาอาคราได้ จะต้องเรียนฮินดีในเมืองไทยอย่างน้อย ๕๐ - ๑๐๐ ชั่วโมง และได้รับการรับรองจากหนังสือรับรองของอาจารย์ผู้สอนภาษาฮินดีที่มีสังกัดในมหาวิทยาลัยของรัฐบาลไทยที่ทางสถานทูตอินเดียในเมืองไทยยอมรับ หรือผ่านการเรียนฮินดีในประเทศอินเดียอย่างหลักสูตรเรียนภาษาฮินดีเร่งรัด ๑ เดือน ที่ MGAHV, University ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาในการกำกับและได้มาตรฐานของรัฐบาลอินเดีย จึงจะสามารถขอทุนเรียนฟรีที่ฮินดีสันสถานจากรัฐบาลอินเดียได้ ซึ่งมักจะประกาศรับสมัครผู้สนใจและมีคุณสมบัติดังกล่าวในช่วงเดือนเมษายน (หรือหลังจากที่ทางสถานทูตอินเดียในประเทศไทยประกาศมอบทุนให้กับนักศึกษาหรืออาจารย์ชาวไทยไปศึกษาต่อ ป. โท และ ป. เอก ฟรีที่อินเดียเป็นที่เรียบร้อยแล้ว)


      ภาพที่ ๓ การเรียนการสอนในชั้นเรียนของวิทยาลัยฮินดีสันสถาน
ที่มา : วิทยาลัยเกนทรียะ ฮินดี สัมสถาน, อาครา http://khsindia.org/india/en/

  ภาพที่ ๔ นักศึกษานาคแลนด์ มณีปูร สิขิม และชาวไต (ชาวอีสาน) ของอินเดียที่นิยมมาเรียนที่ฮินดีสันสถาน

ที่มา : วิทยาลัยเกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา http://khsindia.org/india/en/

โดยหลักสูตรของฮินดีสันสถานมี ๔ หลักสูตรสำหรับนักศึกษาต่างชาติคือ


 (๑) Hindi Language Proficiency Certificate Course (ประกาศนียบัตรขั้นชำนาญ, ภาษาฮินดี)
(๒) Hindi Language Proficiency Diploma course (อนุปริญญาขั้นชำนาญ, ภาษาฮินดี)
(๓) Hindi Language Advanced Diploma (อนุปริญญาขั้นพัฒนาแล้ว , ภาษาฮินดี)
(๔) Post-Graduate Hindi Diploma (ภายหลังสำเร็จอนุปริญญา , ภาษาฮินดี)

โดยผู้นักศึกษาต่างชาติที่เข้าศึกษาจะต้องมีอายุระหว่าง ๒๑-๓๕ ปี


ภาพที่ ๕ นักศึกษานานาชาติที่ฮินดีสันสถาน
ที่มา : วิทยาลัยเกนทรียะ ฮินดี สันสถาน, อาครา http://khsindia.org/india/en/

ภาพที่ ๖ ประกาศนียบัตรชั้นต้นหลักสูตร Hindi Language Proficiency Certificate Course (ประกาศนียบัตรขั้นชำนาญ, ภาษาฮินดี) เมื่อ ๑๒ ปีก่อน; ที่มาถ่ายเองเมื่อ ๒๕ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๑๐

     หมายเหตุ:  
             ๑) โดยมากนักศึกษาที่เลือกเรียนภาษาฮินดี อาจารย์มักจะแนะนำให้หลังเรียนจบช่วงที่รองานทำ หรือสมัครเรียนต่อ ลองไปสมัครทุนเรียนภาษาฮินดีที่สถานทูตอินเดียดู เพื่อหาประสบการณ์ชีวิตในต่างประเทศหนึ่งปี ก่อนที่จะกลับมางานทำ หรือศึกษาต่อในประเทศไทย หรืออินเดีย แต่สำหรับนักศึกษาที่ต้องการเรียนต่อในประเทศอินเดีย มักจะสมัครทุนนี้เพื่อใช้หามหาวิทยาลัยที่ได้มาตรฐานและมีชื่อเรียนต่อในประเทศอินเดีย และได้เรียนภาษาฮินดีควบคู่ไปด้วย เพราะโดยมากการติดต่อสอบเข้า สอบภาษาอังกฤษ สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ และหาอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องใช้เวลาติดต่อประมาณหนึ่งปี แม้ว่าจะมีมหาวิทยาลัยที่ตนเลือกไว้แล้วจากระบบรายชื่อที่     สกอ. ในเมืองไทยรับรองก็ตาม (เช่น เขาอาจจะไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษาให้เราในสาขาที่เราต้องการเรียน เนื่องจากอาจารย์คนดังกล่าวย้ายไปอยู่มหาวิทยาลัยอื่นแล้ว ฯลฯ ที่เราคาดไม่ถึงในอินเดีย) โดยประเทศอินเดียให้ทุนนักศึกษาเรียนในมหาวิทยาลัยที่ผ่านการรับรองรัฐบาลอินเดียเท่านั้น และไม่อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติทำงานในประเทศอินเดีย ดังนั้นการที่จะไปเรียนอินเดียในปัจจุบันที่มีค่าใช้จ่ายในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เก็บเป็นเงินดอลลาร์ ในปัจจุบันจึงควรสอบทุนให้ได้ก่อนถึงไปเรียน
       ๒) เมื่อจบการศึกษาจากศูนย์ศึกษาภาษาฮินดีแล้ว โดยมีพื้นความรู้ด้านภาษาสันสกฤตในระดับปริญญาโทก็สามารถไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาภาษาฮินดีที่ MGAHV, University มหาวิทยาลัย มหาตมา คานธี อันตรราษฏรียะ ฮินดี วิศววิทยาลัย, สาขาเมืองวรธา รัฐมหาราษฏระ เพราะภาษาสันสกฤตยากกว่า และแขกมองว่าภาษาฮินดีกับสันสกฤตใกล้เคียงกัน คือภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอินโดอารยันยุคเก่า หรือส่วนภาษาฮินดีเป็นภาษาอินโดอีหราเนียนยุคใหม่ คือภาษาฮินดีเป็นภาษาที่ได้รับอิทธิพลหลักมาจากภาษาสันสกฤต และภาษาเปอร์เซีย (ภาษาอีหร่าน) ถ้าใช้ตัวเทวนาครีเขียนจะเรียกว่าภาษาฮินดี แต่ถ้าใช้ตัวอารบิกเขียนจะเรียกว่าภาษาอูรดู


ภาพที่ ๗ วังของราชวงศ์โมกุลและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อต่าง ๆ ในเมืองอาครา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสนทนาฮินดี ๑ (การแนะนำตัวเอง)

ตอนที่ ๑ : ชื่อนั้นสำคัญไฉน?       ไอศานีเข้ามาพบอาจารย์ที่ปรึกษาชาวอินเดียที่มหาวิทยาลัย "พอนดิเชอรี" เพื่อตามเรื่องขอพักในหอพักนักศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัย ได้พบกับโรฮันนักศึกษาชาวอินเดียลูกครึ่งจอร์เจียเป็นครั้งแรก โรฮันซึ่งชอบคบหากับนักศึกษาต่างชาติเป็นพิเศษจึงเข้ามาทักทายและทำความรู้จักกับเธอ โรฮัน  : नमस्ते   นมัสสะเต สวัสดี ไอศานี : नमस्ते   นมัสสะเต สวัสดี โรฮัน  : आप् का शुभनाम् क्या है ? อาป กา ศุภะนาม กยา แฮ ? อะไรคือชื่อของคุณ ? ไอศานี  : मेरा नाम ऐशानी है . เม-รา นาม ไอศานี แฮ ดิฉันชื่อไอศานี शुभनाम् क्या है ? ศุภะนาม กยา แฮ ? อะไรคือชื่อของคุณ ? โรฮัน  : मेरा नाम रोहन है . เม-รา นาม โรฮัน แฮ ผมชื่อโรฮัน โรฮัน  : आप् इस देश मे कब से   हैं ? อาป อิส เทศ เม

ศัพท์หมวดครอบครัวภาษาฮินดี

एकल परिवार  और  संयुक्त परिवार  (เอกัล ปริวาร เอาร สังยุกฺต ปริวาร) ❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀ एकल परिवार (เอกัล ปริวาร) ครอบครัวเดียว Nuclear Family संयुक्त परिवार (สังยุกฺต ปริวาร) ครอบครัวผสมหลายครอบครัวรวมกัน/ ครอบครัวใหญ่ Joint Family Picture: Indian families Refer to:  https://www.babydestination.com/joint-family-vs-nuclear-family 1. ศัพท์หมวดเครือญาติ संबंधी สัมบันธี เครือญาติ चाचा จาจา ลุง / อาว์ जीजाजी ชีชาชี สามีของพี่สาว छोटा भाई โฉฏา ภาอี น้องชาย छोटी बहन โฉฏี บหัน น้องสาว ताई ตาอี ภรรยาของพี่ชายคนโตของพ่อ ताऊ ตาอู พี่ชายคนโตของพ่อ दामाद ทามาท ลูกเขย ननद นะนัท น้องสาวสามี नातिन / पोती นาติน/ โปตี หลานสาว नाती / पोता นาตี/ โปตา หลานชาย नाना / दादा นานา/ ทาทา ปู่/ ตา नानी / दादी นานี/ ทาที ย่า/ ยาย बड़े भाई

ค่ายหนังอินเดียไม่ได้มีแต่ Bollywood

"เมืองไทยมักจะบ่นว่าพระเอกไทยหน้าตาดีเล่นไม่ได้เรื่อง แต่เมืองทมิฬพระเอกเล่นก็ดีแต่หน้าตางั้นๆ"      ค่ายหนังในอินเดียมีมากมายแม้แต่เรื่อง "บฮูบาลี" มหากาพย์อินเดียซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ก็เป็นหนังแดนใต้เป็นความร่วมมือ ของ kollywood และ Tollywood ถ่ายทำด้วยภาษาทมิฬและเตลุคุ ก่อนแปลเป็นภาษาฮินดี โดยค่ายหนังใหญ่นั้นมีอยู่สามค่ายคือ      1.บอลีวู๊ด Bollywood ซึ่งเป็นค่ายหนังอันดับหนึ่งของอินเดียเหนืออยู่ที่เมืองมุมไบ ใช้ภาษาฮินดี ในการแสดง หนังส่วนใหญ่จะก๊อบปี้เนื้อเรื่องมาจาก ฮอลีวู๊ด(USA)      2.กอลีวู๊ด Kollywood เป็นค่ายหนังอันดับสองของอินเดียใต้อยู่ที่เชนไน รัฐทมิฬนาดู ใช้ภาษาทมิฬในการแสดง หนังส่วนใหญ่จะก๊อบปี้มาจาก บอลีวู๊ด(อินเดียเหนือ)      3.ทอลีวู๊ด Tollywood เป็นค่ายหนังอันดับสามของอินเดียใต้อยู่ที่อันธรประเทศไม่แน่ใจว่าอยู่ที่เมืองอะไรใช้ภาษาเตลุคุ และเบงกาลีในการแสดง หนังส่วนใหญ่จะร่วมทุนสร้างกับ กอลีวู๊ด และ บอลีวู๊ดด้วยบางเรื่องก็เป็นหนังโบราณพวกจักร ๆ วงศ์ ๆ แขก      ระดับสีผิวและความหน้าเฮี้ยมของพระเอกอินเดียนั้นสามารถจำแนกหนังได้ว่ามาจากค