ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิทยาลัยนานาชาติฮินดีสันสถานสาขาเดลลี (สำหรับคนมีตังค์)



ภาพที่ ๑ การประชุมวิชาการภาษาฮินดีที่เดลลี
ที่มา : http://khsindia.org/india/en/

ภาพที่ ๒ เกนทริยะ ฮินดี สันสถาน สาขาเดลลี

ที่มา: https://www.indiatoday.in/india/north/story/hindi-as-official-language-yet-it-languishes-mha-mhrd-117245-2012-09-28

     ถ้านักศึกษาต่างชาติได้ทุนรัฐบาลอินเดียให้เรียนฟรีจะถูกส่งไปเรียนที่สาขาอาครา แต่ถ้าจะจ่ายตังค์เรียนเองต้องมาเรียนที่เมืองเดลลี ซึ่งจะมีชาวญี่ปุ่น อเมริกา และชาวยุโรปผู้สนใจภาษาฮินดีและฐานะดีสมัครมาเรียนเป็นส่วนใหญ่

คณะหรือภาควิชาต่าง ๆ ของวิทยาลัยฮินดีสันสถาน ได้แก่
Department of Teachers Education คณะครุศาสตร์
अध्यापक शिक्षा विभाग (อัธยาปัก ศิกษา วิภาค)
Department of International Hindi Teaching คณะการสอนฮินดีวิเทศศาสตร์ (นานาชาติ)
अंतरराष्ट्रीय हिंदी शिक्षण विभाग (อันตรราษฏริยะ ฮินดี ศิกษัณ วิภาค)
Department of Orientation and Language Extension  ศูนย์ศึกษาแนะแนว และการเผยแพร่ภาษา (สำหรับการพัฒนาครูสอนภาษาฮินดีในประเทศต่าง ๆ ด้ายเทคนิคใหม่ ๆ และโปรแกรมการสอน)
नवीकरण एवं भाषा प्रसार विभाग (นวีกรัณ เอวัง ภาษา ประสาร วิภาค)
Department of Material Production for North-East ภาควิชาการผลิตวัสดุภัณฑ์ของภาคอีสาน (ของอินเดีย)
पूर्वोत्तर सामग्री निर्माण विभाग (ปูรโวตตัร สามครี นิรมาณ วิภาค)
Department of Distance (Corrospondance) Education ศูนย์การศึกษาทางไกล (จดหมาย)
पत्राचार (दूरस्थ अध्यापक शिक्षा) विभाग (ปัตราจาร {ดูรัส-ถ อัธยาปัก ศิกษา} วิภาค)
Department of Research and Language Development สถาบันวิจัยและพัฒนาภาษา
अनुसंधान एवं भाषा विकास विभाग (อนุสันธาน เอวัง ภาษา วิกาส วิภาค)
Department of Infromation and Language Technology ศูนย์ข้อมูลและเทคโนโลยีทางภาษา
सूचना एवं भाषा प्रौद्योगिकी विभाग (สูจะนา เอวัง ภาษา เปราทโยคิกี วิภาค)
Department of Evening Courses ศูนย์การศึกษาภาคค่ำ
सांध्यकालीन पाठ्यक्रम विभाग (สานธ-ยะกาลีน ปาฐ-ยะกรม วิภาค)

(โดยการศึกษาภาคค่ำ และทางไกลในประเทศอินเดียทุกหลักสูตร กพ และสกอ ในประเทศไทยไม่รับรอง แม้จะมีรายชื่อที่เป็นมหาวิทยาลัยที่ กพ หรือสกอรับรองแล้วก็ตาม ดังนั้นไม่แนะนำให้นักศึกษาไทยไปเรียนหลักสูตรดังกล่าวในระดับอุดมศึกษา)


ภาพที่ ๒ นักเรียนนานาชาติ ที่ฮินดีสันสถานสาขาเดลลี

ในอดีตค่าสมัครเดิมจ่ายค่าห้องสมุด ๕๐๐ รูปี (ครั้งเดียว) และค่าหอพักเดือนละ ๓๐๐ รูปี
(ในอดีต ๒ รูปี เท่ากับเงินไทยประมาณ ๑ บาท)
.....................

แต่ปัจจุบัน จ่ายค่าทำเนียมแรกเข้า ๒,๕๐๐ รูปี ค่าบำรุงหอพักครั้งแรก ๒,๕๐๐ รูปี 
และจ่ายรายเดือน ๑๐,๐๐๐ รูปี ค่าสอบอีก ๑๒๐ รูปี  
.....................

      และมีแนวโน้มว่าถ้าเป็นชาวอินเดียจะเก็บเป็นรูปีส่วนชาวต่างชาติจะเก็บเป็นดอลลาร์ ในอนาคตเหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในอินเดีย ดังนั้นถ้าไม่รวยจริงการจะไปเรียนอินเดียในปัจจุบันแพงมาก ไปเรียนออสเตรเลีย และสิงคโปร์ก็มีค่าใช้จ่ายพอกัน ดังนั้นถ้าสนใจเรียนที่อินเดียซึ่งไม่อนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติทำงาน ต้องขอทุนให้ได้เท่านั้น เพราะมันไม่ถูก ๆ แล้วเหมือนเมื่อ ๑๒ ปีที่แล้ว
     โดยผู้ที่จะได้ทุนไปเรียนอินเดียถ้าต้องทำวีซ่านักศึกษาหรือวิจัยระยะยาวจะต้องมีเงินในบัญชีธนาคาร เป็นแสน ๆ บาทขึ้นไป  (ปัจจุบันอาจจะเป็น ๓ - ๕ แสน) โดยมีหลักฐานเป็น Statement ในช่วงสามเดือน หรือเป็นบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง ผู้อุปการะมาแสดง คือ Statement สามเดือน และจดหมายยืนยันความสัมพันธ์กับนักศึกษาของผู้ปกครอง ก่อนทำวีซ่าระยะยาวมาศึกษามาอยู่กินในอินเดียด้วย เพื่อให้รัฐบาลอินเดียมั่นใจว่าจะรวยพอจนเรียนจบได้ ไม่หนีกลับประเทศไทยก่อน ( Guarantee letter from parent/guardian for financial support along with bank statement for past three months. อ้างอิง Indian Embassy Bangkok. Online ; http://www.indianembassy.in.th/pages.php?id=36) ดังนั้นนักศึกษาไทยกลุ่มหนึ่งในอินเดียจึงใช่วีซ่านักท่องเทียวมาเรียนในอินเดียแทน ซึ่งก็ได้ ...แต่อาจจะมีปัญหาตอนขอรับรองหลักสูตรจาก สกอ. เวลาเรียนจบ ป.โท ป.เอก กลับมาหางานทำในเมืองไทย ซึ่งนักศึกษาที่จบจากประเทศอินเดีย และทุกประเทศในโลกนี้ทุก ๆ คน แม้ว่าจะไปเรียนมหาวิทยาลัยที่ กพ. หรือ สกอ. รับรองแล้วก็ต้องกลับมาทำเรื่องขอรับรองแสดงหลักฐานว่าหลักสูตรที่ตนไปเรียน ได้รับการรับรองในประเทศอินเดีย หรือประเทศต่าง ๆ ที่ตนไปเรียนหรือไม่ ไม่ได้ไปเรียนหลักสูตรภาคค่ำ หรือทางไกลในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ทางอินเดียรับรอง แต่ทาง สกอ. ในเมืองไทยไม่รับรอง ฯลฯ (โดยจะต้องแสดงวีซ่า หรือสำเนาวีซ่าทั้งหมดตั้งแต่ปีแรกที่เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศเป็นหลักฐานสำคัญด้วย ถ้าไปด้วยวีซ่านักศึกษาหรือวีซ่านักวิจัยที่มีระยะเวลาการไปกินอยู่และศึกษาจริงในประเทศต่าง ๆ เป็นเวลานานมักไม่มีปัญหา)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทสนทนาฮินดี ๑ (การแนะนำตัวเอง)

ตอนที่ ๑ : ชื่อนั้นสำคัญไฉน?       ไอศานีเข้ามาพบอาจารย์ที่ปรึกษาชาวอินเดียที่มหาวิทยาลัย "พอนดิเชอรี" เพื่อตามเรื่องขอพักในหอพักนักศึกษานานาชาติของมหาวิทยาลัย ได้พบกับโรฮันนักศึกษาชาวอินเดียลูกครึ่งจอร์เจียเป็นครั้งแรก โรฮันซึ่งชอบคบหากับนักศึกษาต่างชาติเป็นพิเศษจึงเข้ามาทักทายและทำความรู้จักกับเธอ โรฮัน  : नमस्ते   นมัสสะเต สวัสดี ไอศานี : नमस्ते   นมัสสะเต สวัสดี โรฮัน  : आप् का शुभनाम् क्या है ? อาป กา ศุภะนาม กยา แฮ ? อะไรคือชื่อของคุณ ? ไอศานี  : मेरा नाम ऐशानी है . เม-รา นาม ไอศานี แฮ ดิฉันชื่อไอศานี शुभनाम् क्या है ? ศุภะนาม กยา แฮ ? อะไรคือชื่อของคุณ ? โรฮัน  : मेरा नाम रोहन है . เม-รา นาม โรฮัน แฮ ผมชื่อโรฮัน โรฮัน  : आप् इस देश मे कब से   हैं ? อาป อิส เทศ เม

ศัพท์หมวดครอบครัวภาษาฮินดี

एकल परिवार  और  संयुक्त परिवार  (เอกัล ปริวาร เอาร สังยุกฺต ปริวาร) ❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀✾❀ एकल परिवार (เอกัล ปริวาร) ครอบครัวเดียว Nuclear Family संयुक्त परिवार (สังยุกฺต ปริวาร) ครอบครัวผสมหลายครอบครัวรวมกัน/ ครอบครัวใหญ่ Joint Family Picture: Indian families Refer to:  https://www.babydestination.com/joint-family-vs-nuclear-family 1. ศัพท์หมวดเครือญาติ संबंधी สัมบันธี เครือญาติ चाचा จาจา ลุง / อาว์ जीजाजी ชีชาชี สามีของพี่สาว छोटा भाई โฉฏา ภาอี น้องชาย छोटी बहन โฉฏี บหัน น้องสาว ताई ตาอี ภรรยาของพี่ชายคนโตของพ่อ ताऊ ตาอู พี่ชายคนโตของพ่อ दामाद ทามาท ลูกเขย ननद นะนัท น้องสาวสามี नातिन / पोती นาติน/ โปตี หลานสาว नाती / पोता นาตี/ โปตา หลานชาย नाना / दादा นานา/ ทาทา ปู่/ ตา नानी / दादी นานี/ ทาที ย่า/ ยาย बड़े भाई

ค่ายหนังอินเดียไม่ได้มีแต่ Bollywood

"เมืองไทยมักจะบ่นว่าพระเอกไทยหน้าตาดีเล่นไม่ได้เรื่อง แต่เมืองทมิฬพระเอกเล่นก็ดีแต่หน้าตางั้นๆ"      ค่ายหนังในอินเดียมีมากมายแม้แต่เรื่อง "บฮูบาลี" มหากาพย์อินเดียซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ก็เป็นหนังแดนใต้เป็นความร่วมมือ ของ kollywood และ Tollywood ถ่ายทำด้วยภาษาทมิฬและเตลุคุ ก่อนแปลเป็นภาษาฮินดี โดยค่ายหนังใหญ่นั้นมีอยู่สามค่ายคือ      1.บอลีวู๊ด Bollywood ซึ่งเป็นค่ายหนังอันดับหนึ่งของอินเดียเหนืออยู่ที่เมืองมุมไบ ใช้ภาษาฮินดี ในการแสดง หนังส่วนใหญ่จะก๊อบปี้เนื้อเรื่องมาจาก ฮอลีวู๊ด(USA)      2.กอลีวู๊ด Kollywood เป็นค่ายหนังอันดับสองของอินเดียใต้อยู่ที่เชนไน รัฐทมิฬนาดู ใช้ภาษาทมิฬในการแสดง หนังส่วนใหญ่จะก๊อบปี้มาจาก บอลีวู๊ด(อินเดียเหนือ)      3.ทอลีวู๊ด Tollywood เป็นค่ายหนังอันดับสามของอินเดียใต้อยู่ที่อันธรประเทศไม่แน่ใจว่าอยู่ที่เมืองอะไรใช้ภาษาเตลุคุ และเบงกาลีในการแสดง หนังส่วนใหญ่จะร่วมทุนสร้างกับ กอลีวู๊ด และ บอลีวู๊ดด้วยบางเรื่องก็เป็นหนังโบราณพวกจักร ๆ วงศ์ ๆ แขก      ระดับสีผิวและความหน้าเฮี้ยมของพระเอกอินเดียนั้นสามารถจำแนกหนังได้ว่ามาจากค