การลำดับโน้ตเพลงฮินดูสตานีกับฤดูทั้ง
6 ของอินเดียได้แก่
โน้ตเพลงกัรณาฏิก (เพลิงอินเดียใต้) และโน้ตเพลงฮินดีสตานี (เพลงอินเดียเหนือ) บางราคะ เหมือนทั้งชื่อและราคะ
บางราคะเหมือนเฉพาะโน้ตแต่ชื่อไม่เหมือนกัน และบางราคะ/ราคัม ชื่อเหมือนกันแต่โน้ตไม่เหมือนกัน
ซึ่งการลำดับโน้ตเพลงฮินดูสตานีตามฤดูกาลมีดังนี้
refer to: http://www.anilmahato.com/6-seasons-names-in-hindi-english-with-picture-date-time/
1.ศิศิระ- ฤดูน้ำค้าง
2.วสันตะ-ฤดูใบไม้ผลิ 3.ครีษมะ-ฤดูร้อน 4.วัรษา-ฤดูฝน 5.ศะระทะ-ฤดูใบไม้ร่วง 6.เหมันตะ-ฤดูหนาว
: ซึ่งโน้ตเพลงเหล่านี้คือ
1.ราคไภรวะ ฤดูน้ำค้าง (ศิศิระ)
อาโรหณํ (Ascending
ต่ำไปสูง) สา รี คา มา ปา ดา นี ซ่า
อวโรหณํ (Descending สูงไปต่ำ) ส่า นี ดา ปา มา คา รี สา
2. ราคหิณโฑล ฤดูใบไม้ผลิ (วสันตะ)
อาโรหณํ (ต่ำไปสูง) สา คา2 มา1 ดา1 นี2
ซ่า
อวโรหณํ (สูงไปต่ำ) ส่า นี2 ดา1 มา1 คา2
สา
3 ราคทีปกะ ฤดูร้อน (ครีษมะ)
อาโรหณํ (ต่ำไปสูง) สา คา มา ปา ดา นี
ซ่า
อวโรหณํ (สูงไปต่ำ) ส่า ดา2 ดา1 ปา มา
คา รี สา
4. ราคเมฆะ ฤดูฝน (วัรษา)
อาโรหณํ (ต่ำไปสูง) สา มา รี มา ปา นี
ซ่า
อวโรหณํ (สูงไปต่ำ) ส่า นี ปา มา รี มา
สา
5. ราคมาละเกานสะ ฤดูใบไม้ร่วง (ศรทะ)
อาโรหณํ (ต่ำไปสูง) นี สา คา มา ดา นี
ซ่า
อวโรหณํ (สูงไปต่ำ) ส่า นี ดา มา คา มา คา สา
(หรือ)
ส่า นี ดา มา คา สา
6. ราคศรี ฤดูหนาว (เหมันตะ)
อาโรหณํ (ต่ำไปสูง) สา รี2 มา1 ปา นี2
ซ่า
อวโรหณํ (สูงไปต่ำ) ส่า นี2 ปา มา1 รี2
คา2 รี2 สา
refer to: https://devotionalmusic.wordpress.com/category/music-and-science/colours-chakras-and-saptaswaras/
ตัวอย่าง
1.ราคไภรวะ ฤดูน้ำค้าง (ศิศิระ)
2. ราคหิณโฑล ฤดูใบไม้ผลิ (วสันตะ)
3 ราคทีปกะ ฤดูร้อน (ครีษมะ)
4. เมฆะ ฤดูฝน (วัรษา)
5.มาละเกานสะ ฤดูใบไม้ร่วง (ศรทะ)
6.ศรี ฤดูหนาว (เหมันตะ)
ตำนาน "ตานเสน หรือรามตนุ" นักร้องเอกในสมัยราชวงศ์โมกุล ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่เล่าว่าท่านร้องเพลงที่ใช้ราคะทีปกะจนไฟไหม้ แล้วจึงร้องเพลงที่ราคะเมฆะจนฝนตกลงมาได้จึงทำให้รอดตาย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น